Benzoin Siam Resinoid
สารสกัดกำยานสยาม
นิยมใช้เป็นสารให้คงกลิ่น (fixative) ในน้ำหอม สบู่ ครีม สารซักฟอก เป็นต้น มีองค์ประกอบเคมีหลักเป็นโคนิเฟอริลเบนโซเอด (coniferyl benzoate) ร้อยละ 60-70 และกรดกำยาน (benzoic acid) อิสระ ประมาณร้อยละ 10
เนื่องจากกำยานสามารถต้านการสลายตัวของไขมันต่างๆ ได้ จึงใช้กำยานผสมกับไขมันที่จะใช้เป็นยาพื้นสำหรับเตรียมยาขี้ผึ้งต่างๆ นอกจากนั้นกำยานมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณเพื่อวัตถุประสงค์ในการแต่งกลิ่นและกันบูด ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า กำยานมีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ลม บำรุงเส้น บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ สมานแผล และดับกลิ่นทั้งปวง
กำยานสามารถใช้ปรุงน้ำอบไทย โดยการเผากำยานบนก้อนถ่านที่ไฟลุกแดง แล้วใช้อบ เช่น อบน้ำดอกไม้ น้ำที่อบกำยานแล้วโบราณเอามาปรุงกับเครื่องหอมอื่นๆ ทำเป็นน้ำอบไทย รวมทั้งกำยานยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทียนอบ ธูปหอม และกระแจะ ทั้งยังใช้เผารมเพื่อให้มีกลิ่นหอมและไล่ริ้นไร มด แมลง และเพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้อง
คำว่า "กำยาน" มาจากภาษามาลายู "Kamyan" มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น สะด่าน สาดสมิง เขว้ เป็นต้น เป็นชื่อไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae ลำต้นเปล่าตรง เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีเทา ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนโค้งมน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกราวเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ผลมีลักษณะกลม สีเขียวอ่อน มีขนสั้นสีขาวปกคลุม เปลือกแข็ง มีฝาหรือมีหมวกปิดขั้ว มีเมล็ด 1-2 เมล็ด เมื่อแห้งจะแตกเป็น 3 ส่วน
ยางของต้นกำยานจะให้สารสำคัญที่เรียกว่า ชันกำยาน โดยเมื่อกรีดเปลือกต้นตามยาว ยางจะซึมออกมาตามรอยแผลที่กรีดไว้ และจะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ชันยางที่กรีดได้ครั้งแรกจะขาวบริสุทธิ์ และมีกลิ่นหอมมาก ชันยางของกำยานมีสรรพคุณมากมาย ได้มีการนำเข้ามาใช้ในเครื่องยาและเครื่องสำอางค์ เช่น ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคบางชนิด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ห้ามเลือด ขับลม บำรุงหัวใจ ลดความเครียด คลายวิตกกังวล ใช้ทำเครื่องหอม เผารมเพื่อให้กลิ่นหอมไล่ริ้น ไร มดแมลง
ปริมาณการใช้ : 1-5%
นิยมใช้เป็นสารให้คงกลิ่น (fixative) ในน้ำหอม สบู่ ครีม สารซักฟอก เป็นต้น มีองค์ประกอบเคมีหลักเป็นโคนิเฟอริลเบนโซเอด (coniferyl benzoate) ร้อยละ 60-70 และกรดกำยาน (benzoic acid) อิสระ ประมาณร้อยละ 10
เนื่องจากกำยานสามารถต้านการสลายตัวของไขมันต่างๆ ได้ จึงใช้กำยานผสมกับไขมันที่จะใช้เป็นยาพื้นสำหรับเตรียมยาขี้ผึ้งต่างๆ นอกจากนั้นกำยานมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณเพื่อวัตถุประสงค์ในการแต่งกลิ่นและกันบูด ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า กำยานมีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ลม บำรุงเส้น บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ สมานแผล และดับกลิ่นทั้งปวง
กำยานสามารถใช้ปรุงน้ำอบไทย โดยการเผากำยานบนก้อนถ่านที่ไฟลุกแดง แล้วใช้อบ เช่น อบน้ำดอกไม้ น้ำที่อบกำยานแล้วโบราณเอามาปรุงกับเครื่องหอมอื่นๆ ทำเป็นน้ำอบไทย รวมทั้งกำยานยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทียนอบ ธูปหอม และกระแจะ ทั้งยังใช้เผารมเพื่อให้มีกลิ่นหอมและไล่ริ้นไร มด แมลง และเพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้อง
คำว่า "กำยาน" มาจากภาษามาลายู "Kamyan" มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น สะด่าน สาดสมิง เขว้ เป็นต้น เป็นชื่อไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae ลำต้นเปล่าตรง เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีเทา ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนโค้งมน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกราวเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ผลมีลักษณะกลม สีเขียวอ่อน มีขนสั้นสีขาวปกคลุม เปลือกแข็ง มีฝาหรือมีหมวกปิดขั้ว มีเมล็ด 1-2 เมล็ด เมื่อแห้งจะแตกเป็น 3 ส่วน
ยางของต้นกำยานจะให้สารสำคัญที่เรียกว่า ชันกำยาน โดยเมื่อกรีดเปลือกต้นตามยาว ยางจะซึมออกมาตามรอยแผลที่กรีดไว้ และจะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ชันยางที่กรีดได้ครั้งแรกจะขาวบริสุทธิ์ และมีกลิ่นหอมมาก ชันยางของกำยานมีสรรพคุณมากมาย ได้มีการนำเข้ามาใช้ในเครื่องยาและเครื่องสำอางค์ เช่น ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคบางชนิด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ห้ามเลือด ขับลม บำรุงหัวใจ ลดความเครียด คลายวิตกกังวล ใช้ทำเครื่องหอม เผารมเพื่อให้กลิ่นหอมไล่ริ้น ไร มดแมลง
ปริมาณการใช้ : 1-5%
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น